Turn Key Design : รับงานสร้างโครงเหล็ก ตั้งแต่กระบวนการ ออกแบบ > ขออนุญาติ > จนถึงงานก่อสร้าง
ระยะเวลาดำเนินการจนแล้วเสร็จ : โครงการนี้ ใช้ประมาณ 4 เดือน (120 วัน) แล้วเสร็จ
Location : พระราม 4 หลัง มหาวิทยาลัย กรุงเทพ กล้วยน้ำไท
เจ้าของ : คุณท่านธัญญา (กรรมการผู้จัดการบริษัท) ท่านได้ให้ความกรุณา และโอกาส ในการทำงาน อันน่าภาคภูมิใจ และเปี่ยมด้วยคุรภาพของ ดุสิตชัตเตอร์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น เราจึงพยายามทุ่มเทให้เนื้องานนั้นออกมาได้อย่างปราณีต และ ประหยัดต้นทุนที่สุด
ชม Video ประกอบ รูปจริง
เราจัดทำ Video Presentation นำเสนองานก่อนลงมือทำจริง
ดุสิตชัตเตอร์ เรารับทำงานเสนอ เป็น Video Presentation สำหรับผู้รับเหมา เจ้าของบ้าน นักออกแบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการขายงานต่อได้
ติดต่อคุณศิวกร (MD.) รับงานนี้โดยตรง – 088-898-9945
บริเวณภายนอก East West Logistic
ด้านข้างอาคารภายนอก – บริเวณภายในบริษัท
บรรยากาศ ของบริเวณโดยรอบของโครงการ โจทย์ที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป
สิ่งสำคัญที่เรามองเห็นจากโครงการนี้ เรามุ่งเน้น การดำเนินงานที่รวดเร็ว และสามารถทำให้ เนื้องานออกมาอย่างมีคุณภาพ ไร้ปัญหาจุกจิก จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ของ Dusit Shutter นอกจาก งานโครงสร้างแล้ว โครงการนี้ เราได้ commit ทำงาน ตาม Scale ที่ออกมาจากงานออกแบบ และสื่อนำเสนอ ที่เราจัดสร้างขึ้น ทำให้เจ้าของโครงการ ได้เห็นถึงงานที่จะออกมาก่อน และ ตัดสินใจเลือกเรา
สุดยอดของความเนียน – ของการเชื่อมเหล็ก โดย Robot
มีการยิงทราย ไม่มีขี้เหล็กให้สะดุดตา – เมื่อผลงานเสร็จแล้ว
การทำสีสองชั้น จากโรงงาน ไม่มีแม้หยดสีลงกับพื้น
ความแข็งแรง
ตรงตาม Drawing 100% มีรายการคำนวณของ วิศวะกร ระดับสามัญ (โปรดดู รูปตัวอย่าง)
พร้อมวิศวะกร หน้างานคอยดูแลควบคุมงานอยู่ตลอดการดำเนินโครงการนี้
เชื่อมเต็ม มีงานอ้างอิง
ไม่มีการเชื่อมหน้างาน 100% – ใช้ระบบ บล็อคลมไฟฟ้าแทนหัวเชื่อม เชื่อมจากช่างเชื่อมฝีมือ – ผ่านมาตรฐานการเชื่อม ตามหลังสูตรจาก อเมริกา ASCM
ไม่มีการแต้มหลอก เพื่อให้ดูเหมือนเชื่อม
(อันตราย !!)
มุมด้านบน
จะเห็นจั่ว (Rafter) – ที่ทำจาก I Beam, Wide Flange – ดูแข็งแรง คงทน พร้อมสี ที่ท่านเลือกสรร โครงการนี้ ใช้สีน้ำตาล ไม่เกิดสนิม ในระยะยาว สีกันสนิม 40 ไมครอน สีจริง (สีน้ำตาล) 40 ไมครอน
และในมุมนี้ เราก็ยังเห็น แป เป็นรูปตัว Z ชุบ “กัลวาไนซ์” เพื่อกันสนิม จะเห็นได้ว่า การต่อกันระหว่างจั่วแลแป จะมีแป้นเตาะรูร้อนน็อต ตรงตาม Drawing
ลืมการเชื่อมไปได้เลย !
ยิ่งไปกว่านั้น – ระหว่าง แป ถึง แป อีกจุดหนึ่ง จะมีอุปกรณ์ ที่เรีกว่า “Sag Arrestor” เป็นรูปแบบ กากบาท – ไว้สำหรับกันการบิดตัวของแป แปจะตรงแน่ว. ไม่มีการคด. อีกต่อไป เป็นประเภทเดียวกับ “Sag Rod” เป็นเทคนิคในการเชื่อมโยงสมัยก่อน ซึ่งเชื่อมยาก เชื่อมต่อกัน ระหว่างเหล็กเส้นกับแป เชื่อมไม่ดีก้เป็นรู – หากลืมทาสีกันสนิม ก็เป็นสนิม
เรามีการ เช็ค Torque (แรงบิด)
ความแน่นของ น็อต จากภาพนี้ จะเห็นได้ว่า แม้จะเป็นโครง Louver Sheets (ช่องระบายอากาศ) ก็ยังจะใช้ น็อต โครงรับ โครง Louver ก็ยังคงใช้ IBeam ดูแน่นหนา Perfect
การเชื่อมและยิงทราย ทำให้สีเรียบเนียน – ส่วนใหญ่ ช่างเหล็กโดยทั่วไป ไม่ยอมเคาะขี้เหล็ก ด้วยความจำกัดของค่าแรงงาน และเวลาที่จำกัด การนำเทคโนโลยีของเรา จึงตอบโจทย์งานคุรภาพ ในประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาก
เรียบเนียน สีติดดีกว่า
ด้วยความเชี่ยวชาญอย่างสูงของ ดุสิตชัตเตอร์ ลองเลือกชม Video ระหว่างการก่อสร้างการนี้ ที่ด้านบน แม้ในยามตอนกลางคืน ในปัจจัย ของ safety วางแผนมาเป็นอย่างดี ทำให้ได้ การลดต้นทุน ที่เป็นสูตรลับของ Dusit Shutter ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการก่อสร้างโครงเหล็กโดยเฉพาะ
Sky light – แสงสว่าง ประหยัดไฟฟ้า
Sky light – แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แสงธรรมชาติทะลุลอดลงมา เพื่อช่วยในเรื่องของการประหยัดไฟฟ้า และพลังงาน ในเวลากลางวัน เห็นแสงจันทร์ใน Skylight คือแผ่นใสทำจาก อคีลิค หนาอย่างน้อย 1.6 mm รีดรอนให้สามารถต่อรอนกันกับ Metal Sheet ได้อย่างพอดี งานปราณีต
มี Downspout ทำสีให้เนียนเหมือนกันกับโครงเหล็ก “rain gutter” นั้นออกแบบ จากปริมาณน้ำฝน ผ่านการคำนวณใน scale ที่ถูกต้อง ไม่มีการทำให้น้ำฝนล้มลาม
ทำท่อลงแนบกับเสา – เป็นท่อ PVC ทำสีอย่างดี
การเข้ามุม
การเข้ามุมที่สวยงาม – การต่อระหว่าง โครงสร้างทางวิศวกรรม และ สถาปัตยกรรม ผ่านการออกแบบ และขั้นตอนผลิต จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ Tekla + AutoCAD
ถือเป็นที่สุดของงานเนี๊ยบ